หน่วยที่4
วิธีระบบ
วิธี ระบบเป็นกระบวนการคิดอย่างมีแบบแผนทำให้การทำงานเป็นไปอย่างมีขั้นตอน สามารถวิเคราะห์และเรียงลำดับสิ่งที่เกี่ยวข้องได้อย่างชัดเจนแต่ละองค์ ประกอบมีความเกี่ยวโยงกันอย่างมีเหตุผล ทำให้มีประโยชน์ในการวางแผนเพื่อการปฏิบัติงานทุกประเภท วิธีระบบช่วยป้องกันและแก้ไขข้อผิดพลาดที่จะเกิดขึ้น สามารถตรวจสอบข้อมูลย้อนกลับได้ทุกขั้นตอน ในวงการศึกษาให้ความสำคัญต่อการนำวิธีระบบมาใช้ในการจัดการศึกษา โดยเฉพาะในด้านการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ปรับปรุงและพัฒนาการศึกษา
วิธี ระบบเป็นกระบวนการคิดอย่างมีแบบแผนทำให้การทำงานเป็นไปอย่างมีขั้นตอน สามารถวิเคราะห์และเรียงลำดับสิ่งที่เกี่ยวข้องได้อย่างชัดเจนแต่ละองค์ ประกอบมีความเกี่ยวโยงกันอย่างมีเหตุผล ทำให้มีประโยชน์ในการวางแผนเพื่อการปฏิบัติงานทุกประเภท วิธีระบบช่วยป้องกันและแก้ไขข้อผิดพลาดที่จะเกิดขึ้น สามารถตรวจสอบข้อมูลย้อนกลับได้ทุกขั้นตอน ในวงการศึกษาให้ความสำคัญต่อการนำวิธีระบบมาใช้ในการจัดการศึกษา โดยเฉพาะในด้านการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ปรับปรุงและพัฒนาการศึกษา
สรุป วิธีระบบเป็นวิธีการรวมหน่วยย่อย ๆ ซึ่งเป็นอิสระจากกันให้มีความสัมพันธ์กัน โดยการจัดระเบียบอย่างเหมาะสมและสร้างสรรค์เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ กำหนดไว้
ความหมายวิธีระบบ หมายถึง วิธีระบบเป็นวิธีการรวมหน่วยย่อยๆ ซึ่งเป็นอิสระจากกันให้มีความสัมพันธ์กันโดยการจัดระเบียบอย่างเหมาะสมและ สร้างสรรค์เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
1. ข้อมูลป้อนเข้า (input) ได้แก่ วัตถุดิบ ข้อมูลดิบ ปัญหา ความต้องการ วัตถุประสงค์ ข้อกำหนด กฎเกณฑ์
2. กระบวนการ (process) ได้แก่ วิธีการปฏิบัติงานอย่างเป็นขั้นตอน ซึ่งอาจเป็นวิธีใดวิธีหนึ่งหรือหลายวิธีก็ได้
3. ผลลัพธ์ (output) ได้แก่ ผลงานที่ได้มาจากข้อมูลป้อนเข้าและกระบวนการ ซึ่งจะนำไปประเมินผล
4. ข้อมูลย้อนกลับ (feedback) ได้แก่ ผลการประเมินการทำงานของระบบ ซึ่งสามารถประเมินย้อนกลับได้ทุกขั้นตอน
นอก จากองค์ประกอบสำคัญ 4 ประการนี้แล้ว อาจมีส่วนประกอบอื่น ๆ ได้อีกทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการออกแบบระบบ ซึ่งแต่ละระบบจะขึ้นอยู่กับลักษณะของเนื้อหาและสิ่งที่เกี่ยวข้องต่างกัน
การ จัดระบบเป็นการกำหนดขั้นตอนการดำเนินงาน และการแก้ปัญหาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของงาน โดยการรวบรวมข้อมูล และทรัพยากร วิเคราะห์ปัญหา และรวบรวมวิธีการเพื่อแก้ปัญหาประเมินผลลัพธ์ที่ได้ ปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นไม่ว่าจะเป็นการจัดการระบบในสาขาอุตสาหกรรม ธุรกิจ การศึกษา หรืออื่น ๆ จะประกอบด้วยขั้นตอน 4 ขั้น ได้แก่
1. ขั้นการวิเคราะห์ระบบวิธีการวิเคราะห์ระบบ (system analysis) แบ่งออกเป็น 4 หน่วยย่อย คือ
1.1 วิเคราะห์แนวทางการปฏิบัติงาน (mission analysis) คือ การพิจารณาทิศทางที่จะดำเนินการและจุดมุ่งหมายของระบบ เพื่อบรรลุตามจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้ ผู้วิเคราะห์ต้องรู้ถึงองค์ประกอบของขบวนการแก้ปัญหาเมื่อพ้นจากสภาพที่อยู่ ไปยังสภาพที่พึงประสงค์ โดยการกำหนดจุดมุ่งหมายของการปฏิบัติงานกว้าง ๆ ซึ่งเป็นข้อความย่อเกี่ยวกับสิ่งที่พึงประสงค์ไว้ และเขียนข้อกำหนด ในการปฏิบัติงานเพื่อเป็นเกณฑ์กำหนดว่างานนั้นสำเร็จดีหรือไม่ รวมถึงอุปสรรคข้อบกพร่องต่าง ๆ ด้วย
1.2 วิเคราะห์หน้าที่ (functional analysis) เป็นการกำหนดหน้าที่โดยละเอียดตามที่กำหนไว้ในแนวทางการปฏิบัติงาน
1.3 วิเคราะห์งาน (task, analysis) เป็นการกำหนดสิ่งที่ต้องกระทำตามหน้าที่ที่ได้กำหนดไว้ในขั้นวิเคราะห์ หน้าที่ การวิเคราะห์หน้าที่ และงาน เป็นสิ่งขยายนั้นการวิเคราะห์แนวทางการปฏิบัติงาน
1.4 วิเคราะห์วิธีการและสื่อ (methods-means analysis) เป็นการกำหนดหลักการปฏิบัติกลวิธีและสื่อที่จะนำไปสู่จุดมุ่งหมาย คือ สิ่งที่ต้องการ
2. ขั้นการสังเคราะห์ระบบ
2.1 การเลือกวิธีการ หรือกลวิธีเพื่อหาทางไปสู่จุดมุ่งหมายแล้วทดสอบกลวิธี เพื่อปรับปรุงวิธีการดังกล่าวให้เหมาะสมกับการดำเนินงาน
2.2 การแก้ปัญหา เมื่อเลือกวิธีแล้วก็ใช้กลวิธีการนั้นดำเนินการแก้ปัญหา
2.3 การประเมินผลประสิทธิภาพการดำเนินงาน ดำเนินการแก้ปัญหาแล้วประเมินผลเพื่อหาประสิทธิภาพของผลลัพธ์ที่ได้
3. ขั้นการสร้างแบบจำลอง
การ สร้างแบบจำลอง (construct a model) เป็นการจัดระบบเพื่อให้ง่ายต่อการนำไปใช้จริง การเสนอระบบมักจะออกมาในรูปแบบจำลอง โดยจำลองเป็นโครงสร้างที่จะทำนายผลที่จะเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพก่อนที่ จะนำระบบไปใช้จริง ระบบการทำงานแม้จะมีจุดมุ่งหมายอย่างเดียวกัน แต่อาจมีแบบจำลองระบบไม่เหมือนกัน
วิธีการเขียนแบบจำลอง อาจเขียนได้หลายแบบ ได้แก่
3.1 แบบจำลองแนวนอน นิยมใช้รูปสี่เหลี่ยมแทนขั้นตอนต่าง ๆ ตามลำดับ นิยมเชื่อมแต่ละขั้นตอนด้วยลูกศร อาจใส่หมายเลขกำกับขั้นตอนหรือไม่ใส่ก็ได้
3.2 แบบจำลองแนวตั้ง คล้ายแนวนอน แต่ต่างกันที่เริ่มจากด้านบนมาทางด้านล่าง
3.3 แบบจำลองแนวนอนผสมแนวตั้ง
3.4 แบบจำลองแนววงกลมหรือวงรี
3.5 แบบจำลองกึ่งแผนแผนกึ่งรูปภาพ
3.6 แบบจำลองเชิงคณิตศาสตร์หรือคอมพิวเตอร์
4. ขั้นการจำลองสถานการณ์
การ สร้างแบบจำลอง (construct a model) เป็นการจัดระบบเพื่อให้ง่ายต่อการนำไปใช้จริง การเสนอระบบมักจะออกมาในรูปแบบจำลอง โดยจำลองเป็นโครงสร้างที่จะทำนายผลที่จะเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพก่อนที่ จะนำระบบไปใช้จริง ระบบการทำงานแม้จะมีจุดมุ่งหมายอย่างเดียวกัน แต่อาจมีแบบจำลองระบบไม่เหมือนกัน
วิธีการเขียนแบบจำลอง อาจเขียนได้หลายแบบ ได้แก่
3.1 แบบจำลองแนวนอน นิยมใช้รูปสี่เหลี่ยมแทนขั้นตอนต่าง ๆ ตามลำดับ นิยมเชื่อมแต่ละขั้นตอนด้วยลูกศร อาจใส่หมายเลขกำกับขั้นตอนหรือไม่ใส่ก็ได้
3.2 แบบจำลองแนวตั้ง คล้ายแนวนอน แต่ต่างกันที่เริ่มจากด้านบนมาทางด้านล่าง
3.3 แบบจำลองแนวนอนผสมแนวตั้ง
3.4 แบบจำลองแนววงกลมหรือวงรี
3.5 แบบจำลองกึ่งแผนแผนกึ่งรูปภาพ
3.6 แบบจำลองเชิงคณิตศาสตร์หรือคอมพิวเตอร์
4. ขั้นการจำลองสถานการณ์
การ จำลองสถานการณ์ (systematiocal simulation) เป็นการทดลองใช้ระบบตามแบบจำลองที่สร้างขึ้นในสภาพการณ์เลียนแบบการณ์จริง เพื่อปรับปรุงหรือแก้ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ระบบก่อนนำไปใช้จริง เนื่องจากถ้านำไปใช้ในสถานการณ์จริงอาจทำให้สิ้นเปลืองเวลา แรงงาน และเงินหรืออาจเสี่ยงต่ออันตรายได้
ผลผลิต( Output )
ผลผลิต คือ ผลที่เกิดขึ้นในระบบซึ่งเป็นเป้าหมายปลายทางของระบบ สำหรับระบบการเรียนการสอนผลผลิตที่ต้องการก็คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้เรียนไปในทางที่พึงประสงค์ เป็นการพัฒนาที่ดีหลายด้านดังต่อไปนี้
-พุทธิพิสัย ( Cognitive )
-จิตพิสัย ( Affective )
ทักษะพิสัย ( Psychomotor )
อ้างอิง
senarak.tripod.com/system.htm
www.oo-cha.com/courses/EIIT/4p116_136.pdf
senarak.tripod.com/system.htm
www.oo-cha.com/courses/EIIT/4p116_136.pdf